Translate

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พิธีเปิด ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำตำบลสะเนียน



พิธีเปิด ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ประจำตำบลสะเนียน โดยมี นายธีรพล วรรณวิภูษิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเนียน เป็นประธาน ในวันที่ 13 มิถุนายน 2559 ณ บ้านสะเนียน หมู่ที่ 1 ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, สาธิตกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการทำแหนมหมู, สาธิตกิจกรรมส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้า, กิจกรรมส่งเสริมอาชีพการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น
           การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน  183  คน  ประกอบด้วย นักศึกษา กศน.ตำบลสะเนียน เจ้าหน้าที่ อบต.สะเนียน  ผู้สูงอายุ  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  อสม.  คณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำโค้งและโรงเรียนบ้านสะเนียน กลุ่มอาชีพชุมชน ผู้นำของแต่ละหมู่บ้าน แขกผู้มีเกียรติและเครือข่ายอื่น ๆ










วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาฐานการเรียนรู้ออนไลน์ ด้วย Blogger


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาฐานการเรียนรู้ออนไลน์ ด้วย Blogger
การสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ผ่าน Social Network
รุ่นที่ 3 วันที่ 2-3 มีนาคม 2558
ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา น่าน




ฺกิจกรรมเด่น (Best Pratice)

กลุ่มแปรรูปแหนมหมูกาดแลง


ประวัติความเป็นมาของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน “กลุ่มแปรรูปแหนมหมูกาดแลง”
    

      กศน.ตำบลสะเนียน ได้ดำเนินการส่งเสริมอาชีพเพื่อการมีงานทำ ปีงบประมาณ 2555 หลักสูตรการแปรรูปกลุ่มแหนมหมู บ้านสะเนียน หมู่ที่ 1 ตำบลสะเนียน  มีจำนวนสมาชิก 20 คน งบประมาณจำนวน  10,000 บาท  หลักสูตร 100 ชั่วโมง กลุ่มได้เรียนการทำแหนมจากวิทยากรและได้ฝึกปฏิบัติการทำแหนม และผลิตแหนมออกจำหน่ายในชุมชนทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพหลักที่ทำอยู่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของตลาดในชุมชน สามารถจำหน่ายได้เป็นอย่างดี ทำให้กลุ่มมีรายได้ สร้างงาน  สร้างอาชีพ  และมีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ 

      ในปีงบประมาณ  2556  กศน.ตำบลสะเนียน ได้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มแหนมหมูกาดแลง ตามหลักสูตรการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์แปรรูปกลุ่มแหนมหมูกาดแลง  โดยใช้งบประมาณจำนวน  3,000 บาท เพื่อพัฒนาและเพิ่มเติมพร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์การผลิตแหนมหมูให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและจำนวนมากขึ้น พร้อมทั้งขยายตลาดสู่ชุมชนอื่นๆ ทำให้กลุ่มมีรายได้ลดรายจ่าย และผลิตภัณฑ์สามารถจำหน่ายได้ตามความต้องการของผู้บริโภคในชุมชน และกลุ่มแหนมหมูกาดแลง ยังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองน่านในเรื่องของการส่งเสริมดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP) นอกจากนี้กลุ่มแหนมหมูกาดแลงยังเน้นเรื่องคุณภาพความสะอาดของผลิตภัณฑ์เป็นหลัก  ปัจจุบันกลุ่มแหนมหมูกาดแลง ตั้งอยู่ที่ บ้านสะเนียน  หมู่ที่ 1  ตำบลสะเนียน  อำเภอเมือง  จังหวัดน่าน  สามารถศึกษาดูงานเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้









ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่สำคัญในตำบลสะเนียน

ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่สำคัญในชุมชน

             ปีใหม่ชนเผ่าม้ง ประเพณีฉลองปีใหม่ เรียกกันว่า น่อเป๊โจ่วฮ์ จะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น ค่ำ ไปจนถึง 30 ค่ำ เมื่อครบ 30 ค่ำจึงนับเป็น เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย ( 30 ค่ำ ) ของเดือนสุดท้าย ( เดือนที่ 12 ) ของทุกปีจึงถือว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเดือนธันวาคมของทุกปี

            ความเชื่อและพิธีกรรม   ชาวถิ่น ไปรต์ จะนับถือผีที่เรียกว่า “ ปร็ อง ”    ถิ่น มาลล์ เรียกว่า “ ซอย ” หรือ “ ปย็ อง ”   มีทั้งผีตระกูล ผีบรรพบุรุษ ผีเรือนผีประจำหมู่บ้าน ผีเจ้าที่ ผีไร่ บางหมู่บ้านมีการผสมผสานทางด้านศาสนาพุทธเข้ามาด้วย   ส่วนพิธีกรรมที่ยึดถือ เช่นพิธีกรรมเกี่ยวกับวงจรชีวิตและการรักษาพยาบาล คือการเซ่นผีเรือน การทำขวัญเด็กเกิดใหม่ พิธีจัดงานศพ การทำผี( แปง ปี,เซ่นผี) เพื่อให้หายจากการเจ็บไข้ได้ป่วย   พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลูกข้าว   จะมีการสร้างตูบผีหรือศาลผีในการเตรียมพื้นทีทำไร่ มีการเซ่นผีในทุกระยะของการปลูกข้าว สำหรับชาวถิ่น มาลล์ จะมีการทำ “ โส ลด หลวง ” เป็นงานใหญ่ประจำปีในช่วงที่ต้นข้าวเริ่มเติบโตออกใบอ่อนสวยงาม ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อบูชาขวัญข้าว ชาวถิ่น ไปรต์ จะมีการ “ กินดอกแดง ”   คล้ายโสลดหลวง แต่ต่างระยะเวลากัน ซึ่งจะจัดในเวลาที่หมดกิจกรรมทุกอย่างในไร่นาแล้ว    ชาวถิ่นจะมีเครื่องราง ที่เรียกว่า “ เฉลว ” หรือ “ ตะ แหลว ” ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปร่างคล้ายดาว เป็นเครื่องหมายแสดงถึงข้อห้ามบางอย่างในบริเวณนั้น และเป็นเครื่องป้องกันผี มีทั้งที่ในบ้านเรือน ในหมู่บ้าน ในไร่นา      นอกจากนี้ในสังคมชาวถิ่นยังมีการกำหนด “ วันกรรม ” เป็นวันที่หยุดพักจากการทำงานหนัก แต่ละตระกูลจะถือกำหนดต่างกันไป โดยจะหยุดกิจกรรมในไร่นา และในครัวเรือนบางอย่าง เพื่ออยู่กรรม   และยังมีการกำหนดวันกรรมประจำของหมู่บ้านด้วย ส่วนพิธีกรรมเนื่องในวันสำคัญอื่นๆ   เช่นงานทอดกฐิน ผ้าป่า งานสงกรานต์ เป็นต้น ซึ่งผสมผสานเอาตามแบบอย่างชาวพุทธ แต่ก็จะมีการเลี้ยงผีเจ้าที่ตามความเชื่อดั้งเดิม  

          เผ่าขมุ ประเพณีการลงสะโหลก คือการเลี้ยงผี ขอขมาผี และขอให้ผีช่วยปกปักษ์รักษาคนในชุมชน ซึ่งจะทำพิธีกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยข้าวจ้ำ จะกำหนดวัน อย่างเช่นปีนี้ ข้าวจ้ำกำหนดวัน ให้วันที่ 11 เมษายน เป็นวันซี้รับ คือเป็นวันที่ดีที่สุดในการรับของ รับซอง วันที่ 12 เมษายน เป็นวันซี้ระวาย เป็นวันเสีย จะเกิดผลวอดวาย วันที่ 13 เมษายน เป็นวันซี้เมิง ปานกลาง ไม่ดีไม่ร้ายไม่คาดหวังในผล วันที่ 14 เมษายน เป็นวันซี้เปิ๊ก มีผลแต่ทำเท่าไหร่ไม่พอกิน วันที่ 15 เมษายน เป็นวันซี้ก๊ด เป็นวันเสีย ไม่สัตย์ซื่อ ไม่เป็นความจริง วันที่ 16 เมษายน เป็นวัน ซี้กั๊ด เป็นวันเสีย ทำไม่สำเร็จ วันที่ 17 เมษายน เป็นวันรวง ทำได้ผลแต่ไม่เผื่อแผ่คนอื่น วันที่ 18 เมษายน เป็นวันซี้เต้า เป็นวันดี มั่งมี วันที่ 19 เมษายน เป็นวันซี้ก๊า เป็นวันกล้า และวันที่ 20 เมษายน เป็นวันซี้ก๊าบ เป็นวันดี มีโชคลาภ มีคนกราบไหว้ ซึ่งคนในชุมชน ก็จะถือเอาวันที่ข้าวจ้ำกำหนด ไว้สำหรับเป็นฤกษ์วันต่างๆ "
         ทำบุญหมู่บ้านเผ่าเมี่ยน  เจี๋ยเจียบเฝย หรือ เชียดหาเจียบเฝย (วันสาร์ทจีน) ตรงกับวันที่ 14 – 15 เดือน 7 ของจีน วันเชียดหาเจียบเฝยของเมี่ยนจะ2 วัน คือ วันที่ 14 หรือเรียกว่า "เจียบเฝย" และวันที่ 15 เรียกว่า "เจียบหือ" ก่อนถึงเชียดหาเจียบเฝย 1 วัน คือวันที่ 13 หรือที่เรียกกันว่า "เจียบฟาม" ชาวบ้านจะเตรียมของใช้สำหรับทำพิธี เช่น กระดาษเงิน กระดาษทอง และหาฟืนมามาเก็บไว้มาก ๆ เพราะว่าในวันทำพิธีนี้ห้ามไปทำไร่ และเก็บฟืน ส่วนคนที่ไปนอนค้างคืนไนไร่ก็จะทยอยกันเดินทางกลับบ้านในวันนี้ นอกจากนี้ยังทำขนมที่เรียกกันว่า "เจียบเฝยยั้ว"
            วัน ที่ 14 หรือ เจียบเฝยนี้ เชื่อกันว่าเป็นวันของคน ชาวบ้านจะไม่ไปไร่เข้าป่าล่าสัตว์ ไม่ทำงานใด ๆ วันนี้จะมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ เพราะเป็นที่เทพเจ้า เทพธิดา วิญญาณบรรพบุรุษเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ มีการทำบุญกันทุกบ้านเรือน มีการขออภัยโทษแก่ดวงวิญญาณต่าง ๆ ให้เป็นอิสระ ลูกหลานจะต้องมีการทำพิธีบวงสรวง เผากระดาษเงิน กระดาษทองส่งไปให้วิญญาณบรรพบุรุษได้ใช้จ่าย วันที่ 15 วิญญาณบรรพบุรุษจะได้คุ้มครองดูแลลูกหลาน
               
         คำว่า "กว๋า ตัง" ในภาษาเมี่ยนมีความหมายว่าแขวนตะเกียง ซึ่งเป็นการทำบุญเพื่อให้เกิดความสว่างขึ้น และเมี่ยนเองก็จะถือว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้แล้ว จะมีตะเกียง 3 ดวง พิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋า เป็นพิธีที่ทำเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ถือเป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตนเอง ทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ และเป็นผู้สืบสกุล ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่
        พิธีกว๋าตัง หมายถึงพิธีแขวนตะเกียง 3 ดวง เป็นพิธีที่สำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นการสืบทอดตระกูล และเป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษด้วย ในการประกอบพิธีกว๋าตังนี้ จะต้องนำภาพเทพพระเจ้าทั้งหมดมาแขวน เพื่อเป็นสักขีพยานว่าบุคคลเหล่านี้ว่าได้ทำบุญแล้ว และจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อเสียชีวิตไป จุดสำคัญของพิธีนี้คือ การถ่ายทอดอำนาจบุญบารมีของอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งในขณะทำพิธีนี้จะมีฐานะเป็นอาจารย์ (ไซเตี๋ย) ของผู้เข้าร่วมพิธีอีกฐานะหนึ่ง และผู้ผ่านพิธีนี้จะต้องเรียกผู้ที่ถ่ายทอดบุญบารมีนี้ว่า อาจารย์ตลอดไป ผู้เป็นอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเสมอไป แต่ต้องผ่านการทำพิธีกว๋าตัง หรือพิธีบวชขั้นสูงสุด"โต่ว ไซ" ก่อนเมื่อผ่านพิธีนี้แล้ว จะทำให้เขาเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ เขาจะได้รับชื่อใหม่ ชื่อนี้จะปรากฏรวมอยู่รวมกับทำเนียบวิญาณของบรรพบุรุษของเขา ซึ่งเป็นการสืบต่อตระกุลมิให้หมดไป เมื่อเขาเสียชีวิตเขาสามารถไปอยู่กับบรรพบุรุษที่ (ย่าง เจียว ต่ง) และอาจจะหลงไปอยู่ในที่ต่ำซึ่งเป็นที่ที่ไม่ดีหรือนรกก็ได้ พอเวลาลูกหลานทำบุญส่งไปให้ก็จะไม่ได้รับ เพราะไม่มีชื่อ นอกจากนี้ผู้ผ่านพิธี (กว๋า ตัง)ยังจะได้รับตำแหน่งศักดินาชั้นต่ำสุดของโลกวิญญาณ จะได้รับบริวารทหารองครักษ์ 36 องค์ และทำให้ภรรยามีเพิ่มเป็น 24 องค์ ดังนั้น ผู้ชายเมี่ยนทุกคนต้องทำพิธี (กว๋า ตัง) จะใช้เวลาในการทำพิธี 3 วันเป็นพิธีถวายตัวแก่เทพเจ้าเต๋า เพื่อวิญาณจะไปอยู่ร่วมกับบรรพชนและมีเทพ (ฮู่ง อิน) มาดูแลปกปักรักษาเมื่อสิ้นชีวิตลง และจะทำให้เขาเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว
          สำหรับชายที่แต่งงานแล้วเวลาทำพิธีบวช ภรรยาจะเข้าร่วมพิธีด้วย โดยจะอยู่ด้านหลังของสามี และการทำพิธีสามารถทำได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ คนก็ได้ แต่คนที่ทำนั้นจะต้องเป็นญาติพี่น้องกัน หรือนับถือบรรพบุรุษเดียวกัน เมี่ยนเรียกว่า(จ่วง เมี้ยน) หลังจากผ่านพิธีนี้แล้ว ผู้ทำพิธีจะได้รับชื่อผู้ใหญ่ และชื่อที่ใช้เวลาทำพิธีด้วยเรียกว่า (ฝะ บั๋ว)

ภูมิปัญญาปราชญ์ชุมชน ในตำบลสะเนียน

ทำเนียบภูมิปัญญาปราชญ์ชุมชนตำบลสะเนียน

หมู่ที่
ชื่อบ้าน
ความรู้ความสามารถพิเศษ
ชื่อ-สกุล
1

สะเนียน
ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายเรือง     ตาคำ  นายทองคำ   บุตรแก้ว
นายไสว     คำมุง    นายโต     บุตรแก้ว
ช่างไม้    ก่อสร้าง(ตกแต่ง)
นายวัย     ในคำ     นายสมบูรณ์   ไชยยงค์
เศรษฐกิจพอเพียง (วิทยากร)
นางจันทร์แสง    ไชยยงค์
ช่างไฟฟ้า
นายสวาท    ชัยมงคล
2

เหนือวัด
ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายอินแปลง   วงค์ไชยา  นายประสาท  จันต๊ะราช
ช่างไม้    ก่อสร้าง(ตกแต่ง)
นายเปล่ง    มูลชมพู   นายยืน  กันลา นายตุ๋ย   พรมเสน 
ศิลปะพื้นบ้าน (คนตรี)
นายศรี   ทะนันไชย  นายจู  ขัติยศ นายสน  ไชยเสน
จักสาน
นายดอน  ชิญวงค์     นายสม ดินสอแก้ว
นายรัตน์  ดินสอแก้ว
ช่างไฟฟ้า
นายอนันท์   พรมเสน    นายอนุรักษ์   วงค์ไชยยา
ช่างทอผ้า   ตัดผ้า
นายสมจิตร  อินแปลง นางนวลจันทร์   ปัญญาวงค์
แปรรูปผลผลิต
นางอัมพร  โมรารัตน์  นายวินิจ  มโนพิเชษฐวัฒนา
3

ห้วยลี่

ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายปัญญา   คนอยู่   นายประสิทธิ์   บุญเรือง
ช่างไม้    ก่อสร้าง(ตกแต่ง)
นายเจริญ   ทะลือ    นายจันทร์แสงน้อย
ศิลปะพื้นบ้าน
นายประสิทธิ์     บุญเรือง
จักสาน
นายศรี       โมกดารา  
ช่างไฟฟ้า
นายโอฬาร  บุญเรือง
ช่างทอผ้า   ตัดผ้า
นายเป็ง       พงษ์ศรี
เครื่องเงิน
นายสุรชัย   แซ่เติ้น
4

น้ำโค้ง

ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายเส่ง        ทองดี
ช่างไม้    ก่อสร้าง(ตกแต่ง)
นายฝาก      ขัติยะ
ศิลปะพื้นบ้าน
นายศรีไล    ศรีคำภา
จักสาน
นายมนัส    แสงทอง
ช่างไฟฟ้า
นายยุทธ    สุขยิ่ง
ผ้าปักชาวเขา
นางมาลี   เชี่ยวชาญ  นางภัทราพร   แซ่พ่าน           
สุราพื้นบ้าน(เหล้าอุ)
ห้างหุ้นส่วนเปรมประสิทธิ์  ผลิต  เหล้าอุ  สุรา
นางคำผิว   วงค์ก๋า
5

สองแคว

ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายเล่าจ้าง  ทรงตระกูลวงษ์  นายตัวช่อ  แซ่เฮ้อ
ช่างไม้   ช่างก่อสร้าง
นายจี   แซ่เฮ้อ   นายว่าง   แซ่โซ้ง
จักสาน
นายปัญญา  วิเศษกันทรากร 
นายเลาจ้าง   ทรงตระกูลวงศ์
6

ปางเป๋ย

ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายพรสวรรค์   แซ่ว่าง  นายจาว  แซ่โซ้ง
ช่างไม้   ช่างก่อสร้าง
นายณฐพล  แซ่เฮ้อ  
ศิลปะพื้นบ้าน
นายแต่ง   แซ่เฮ้อ
จักสาน
นายจอ  แซ่ว่าง
ช่างไฟฟ้า
นายสมศักดิ์   ศิริกุลไพศาล  นายชาติชาย  รัตน์สกุลพัฒน์
7

วังตาว

ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายปั๋น  แก้วเนตร  นายสำราญ  คำมุง นายปั่น ใจอะทะ  
ช่างไม้   ช่างก่อสร้าง
นายบุญช่วย   คำมุง  นายชวน   เขียวจันทร์
ศิลปะพื้นบ้าน
นายสุนทร  บุตรแก้ว
จักสาน
นายอินเขียน  นันต๊ะยศ  นายแก้ว  เทพแก้ว
ช่างไฟฟ้า
นายเฉลิม  ภูผาอินทร์
8

กาใส

ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายสมจิต   มูลยะ
ช่างไม้  ช่างก่อสร้าง
นายสมคิด  คูตา
จักสาน
นายสวัสดิ์   อินวงค์
ช่างทอผ้า  ตัดเย็บเสื้อผ้า
นางคำมอญ   คำมูล
9

ห้วยปุก

ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายมัน   เรืองเมือง  นายคำ   บุญเป็ง
ช่างไม้  ช่างก่อสร้าง
นายเสริฐ   อินทร์ศรี    นายวรรณ   หรรษา
ศิลปะพื้นบ้าน
นายจันทร์   อินศิริ   นายอินทร์   แก้วลาง
จักสาน
นายปัน  เหล้าเรือง  นายแผง  หล้าเรือง
ช่างไฟฟ้า
นายเหรียญทอง   บุญเป็ง
ช่างทอผ้า   ตัดผ้า
นางบัวคำ   ติ๊บอุด
10

ละเบ้ายา

ขนบธรรมเนียมประเพณี
เขียนภาษาจีน ศาสนา
นายจั๋นเอียน   แซ่จ๋าว   นายจ้อยเฉี่ยง   แซ่โพ้ง
นายจั้นเอี๋ยน  แซ่จ๋าว    นายฟุ   แซ่เติ๋น
จักสาน
นายก้อยห่วง  แซ่เติ๋น  นายสุโจ้ว  แซ่จ๋าว   นายจันว่า แซ่จ๋าว
ช่างไฟฟ้า
นายมนัส   แซ่ลี
ช่างทอผ้า  ตัดผ้า
นางเจี้ยวต้อง   แซ่ลี
ช่างไม้   ช่างก่อสร้าง
นายยุ่นเม่ง     แซ่จ๋าว
ศิลปะพื้นบ้าน
นายจ้อยฮี๋ยน   แซ่จ๋าว    นายไหนโพ้ง   แซ่ลี่
11
ห้วยเฮือ
ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายเวิ้นเอี้ยน  แซ่เพ่าน   นายจั้นออน  แซ่จ๋าว
นายก๋วยเม่ง  แซ่ลี
ปักผ้า
นางเหมยจิ้ง   แซ่เติ้น
12
ใหม่ในฝัน
ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายแก้ว   สุยะ  นายวันดี  พิศจาร  นายสาย  ชัยฤทธิ์
ช่างไม้   ช่างก่อสร้าง
นายเหมย  ใจดี  นายอภิชาต  ใจปิง  นายวันดี  พิศจาร 
ศิลปะพื้นบ้าน
นายแนน  พิศจาร นายปิดา  สุระ  นายวิทย์  คำวงค์
จักสาน
นายแนน  พิศจาร นางใบ  ใจมงคล  นางเกียร  ขาเหล็ก
ช่างไฟฟ้า
นายเหมย  ใจดี  นายอภิชาติ   ใจปิง
ช่างทอผ้า
นางศรีไว  ธรรมาพิสุทร์  นางสวย  ศรีบุญเรือง
นางเกียว   เทพปัญญา
13
กลางพัฒนา
ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายจ้อยควน  แซ่เติ้น  นายจั้นเหว่น   ธนาทักษ์
นายเย่าว่า    พานเจริญกุล
ช่างไม้   ก่อสร้าง
นายสาร      แซ่จ๋าว
ศิลปะพื้นบ้าน
นายแซ่เจียว  แซ่เติ้น   นางแคะ   แซ่เติ้น
จักสาน
นายแซ่งว่า   แซ่โพ้ง   นายหวัน   แซ่พ่าน
ช่างไฟฟ้า
นายไกรสิทธิ์   แซ่จ๋าว
ปักผ้า  ชาวเขา
นายเฝยเจียว  แซ่จ๋าว  นางเฝยเสี่ยว  เชี่ยวชาญ
 นางเหมยเสี่ยว   แซ่ลี นางจรัสศรี  แซ่ลี 
นางวิมลวรรณ   แซ่เติ้น
14
ใหม่เจริญสุข
ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายหวังยี  ย่างสกุลกิจ  นายจ๊ะ  แซ่ท้าว  นายสัวสี  แซ่ท้าว
นายจั่ว   แซ่ลี
ผ้าเขียนเทียน   ปักผ้า
นางกรรณิการ์  สุขล้น
ช่างไม้  ช่างก่อสร้าง
นายบัญญัติ  วิเศษกันทรากร  นายเหลือ  แซ่ลี
ศิลปะพื้นบ้าน
นางยัวะ  แซ่ย่าง  นายจู  แซ่ย่าง   นายปอ  แซ่ย่าง
ช่างไฟฟ้า
นายวิเชียร  ย่างสกุลกิจ
15

ห้วยระพี

ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายจั่นเซ็ง      แซ่จ๋าว      นายเก้าหมวง   แซ่จ๋าว
นายสมบูรณ์   แซ่เติ้น
ช่างไม้  ช่างก่อสร้าง
นายสมบูรณ์   แซ่โพ้ง
ศิลปะพื้นบ้าน
นายฉี่โพ้ว   แซ่พ่าน
จักสาน
นายอุ่งลาย   แซ่จ๋าว
ช่างไฟฟ้า
นายดอนสิน  แซ่พ่าน
ปักผ้า
นางแคะควร  แซ่เติ้น  นายหมวงเส็ง  แซ่จ๋าว
16
สมุนใหม่
ขนบธรรมเนียมประเพณี
นายอุ่งล่าง    แซ่เติ้น  นายจั่นเส็ง  นวเสรี 
นายเวิ่นก้วง แซ่พ่าน
ช่างไม้  ช่างก่อสร้าง
นายสมบุญ   แซ่ฟุ้ง  นายยงยศ  แซ่จ๋าว
ศิลปะพื้นบ้าน
นายยุ่นฮิน  แซ่เติ้น
ตีเหล็ก
นายเวิ่นกวั่ง   แซ่พ่าน   นายเลาหลู   แซ่เติ๋น  
ช่างไฟฟ้า
นายสูควร  แซ่พ่าน  นายจีระศักดิ์  ปีติกำจร