ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่สำคัญในชุมชน
ปีใหม่ชนเผ่าม้ง ประเพณีฉลองปีใหม่ เรียกกันว่า น่อเป๊โจ่วฮ์ จะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึง 30 ค่ำ เมื่อครบ 30 ค่ำจึงนับเป็น 1 เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย ( 30 ค่ำ ) ของเดือนสุดท้าย ( เดือนที่ 12 ) ของทุกปีจึงถือว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเดือนธันวาคมของทุกปี
ความเชื่อและพิธีกรรม ชาวถิ่น ไปรต์ จะนับถือผีที่เรียกว่า “ ปร็ อง ” ถิ่น มาลล์ เรียกว่า “ ซอย ” หรือ “ ปย็ อง ” มีทั้งผีตระกูล ผีบรรพบุรุษ ผีเรือนผีประจำหมู่บ้าน ผีเจ้าที่ ผีไร่ บางหมู่บ้านมีการผสมผสานทางด้านศาสนาพุทธเข้ามาด้วย ส่วนพิธีกรรมที่ยึดถือ เช่นพิธีกรรมเกี่ยวกับวงจรชีวิตและการรักษาพยาบาล คือการเซ่นผีเรือน การทำขวัญเด็กเกิดใหม่ พิธีจัดงานศพ การทำผี( แปง ปี,เซ่นผี) เพื่อให้หายจากการเจ็บไข้ได้ป่วย พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลูกข้าว จะมีการสร้างตูบผีหรือศาลผีในการเตรียมพื้นทีทำไร่ มีการเซ่นผีในทุกระยะของการปลูกข้าว สำหรับชาวถิ่น มาลล์ จะมีการทำ “ โส ลด หลวง ” เป็นงานใหญ่ประจำปีในช่วงที่ต้นข้าวเริ่มเติบโตออกใบอ่อนสวยงาม ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม เพื่อบูชาขวัญข้าว ชาวถิ่น ไปรต์ จะมีการ “ กินดอกแดง ” คล้ายโสลดหลวง แต่ต่างระยะเวลากัน ซึ่งจะจัดในเวลาที่หมดกิจกรรมทุกอย่างในไร่นาแล้ว ชาวถิ่นจะมีเครื่องราง ที่เรียกว่า “ เฉลว ” หรือ “ ตะ แหลว ” ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปร่างคล้ายดาว เป็นเครื่องหมายแสดงถึงข้อห้ามบางอย่างในบริเวณนั้น และเป็นเครื่องป้องกันผี มีทั้งที่ในบ้านเรือน ในหมู่บ้าน ในไร่นา นอกจากนี้ในสังคมชาวถิ่นยังมีการกำหนด “ วันกรรม ” เป็นวันที่หยุดพักจากการทำงานหนัก แต่ละตระกูลจะถือกำหนดต่างกันไป โดยจะหยุดกิจกรรมในไร่นา และในครัวเรือนบางอย่าง เพื่ออยู่กรรม และยังมีการกำหนดวันกรรมประจำของหมู่บ้านด้วย ส่วนพิธีกรรมเนื่องในวันสำคัญอื่นๆ เช่นงานทอดกฐิน ผ้าป่า งานสงกรานต์ เป็นต้น ซึ่งผสมผสานเอาตามแบบอย่างชาวพุทธ แต่ก็จะมีการเลี้ยงผีเจ้าที่ตามความเชื่อดั้งเดิม
เผ่าขมุ ประเพณีการลงสะโหลก คือการเลี้ยงผี ขอขมาผี และขอให้ผีช่วยปกปักษ์รักษาคนในชุมชน ซึ่งจะทำพิธีกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยข้าวจ้ำ จะกำหนดวัน อย่างเช่นปีนี้ ข้าวจ้ำกำหนดวัน ให้วันที่ 11 เมษายน เป็นวันซี้รับ คือเป็นวันที่ดีที่สุดในการรับของ รับซอง วันที่ 12 เมษายน เป็นวันซี้ระวาย เป็นวันเสีย จะเกิดผลวอดวาย วันที่ 13 เมษายน เป็นวันซี้เมิง ปานกลาง ไม่ดีไม่ร้ายไม่คาดหวังในผล วันที่ 14 เมษายน เป็นวันซี้เปิ๊ก มีผลแต่ทำเท่าไหร่ไม่พอกิน วันที่ 15 เมษายน เป็นวันซี้ก๊ด เป็นวันเสีย ไม่สัตย์ซื่อ ไม่เป็นความจริง วันที่ 16 เมษายน เป็นวัน ซี้กั๊ด เป็นวันเสีย ทำไม่สำเร็จ วันที่ 17 เมษายน เป็นวันรวง ทำได้ผลแต่ไม่เผื่อแผ่คนอื่น วันที่ 18 เมษายน เป็นวันซี้เต้า เป็นวันดี มั่งมี วันที่ 19 เมษายน เป็นวันซี้ก๊า เป็นวันกล้า และวันที่ 20 เมษายน เป็นวันซี้ก๊าบ เป็นวันดี มีโชคลาภ มีคนกราบไหว้ ซึ่งคนในชุมชน ก็จะถือเอาวันที่ข้าวจ้ำกำหนด ไว้สำหรับเป็นฤกษ์วันต่างๆ "
ทำบุญหมู่บ้านเผ่าเมี่ยน เจี๋ยเจียบเฝย หรือ เชียดหาเจียบเฝย (วันสาร์ทจีน) ตรงกับวันที่ 14 – 15 เดือน 7 ของจีน วันเชียดหาเจียบเฝยของเมี่ยนจะ2 วัน คือ วันที่ 14 หรือเรียกว่า "เจียบเฝย" และวันที่ 15 เรียกว่า "เจียบหือ" ก่อนถึงเชียดหาเจียบเฝย 1 วัน คือวันที่ 13 หรือที่เรียกกันว่า "เจียบฟาม" ชาวบ้านจะเตรียมของใช้สำหรับทำพิธี เช่น กระดาษเงิน กระดาษทอง และหาฟืนมามาเก็บไว้มาก ๆ เพราะว่าในวันทำพิธีนี้ห้ามไปทำไร่ และเก็บฟืน ส่วนคนที่ไปนอนค้างคืนไนไร่ก็จะทยอยกันเดินทางกลับบ้านในวันนี้ นอกจากนี้ยังทำขนมที่เรียกกันว่า "เจียบเฝยยั้ว"
วัน ที่ 14 หรือ เจียบเฝยนี้ เชื่อกันว่าเป็นวันของคน ชาวบ้านจะไม่ไปไร่เข้าป่าล่าสัตว์ ไม่ทำงานใด ๆ วันนี้จะมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ เพราะเป็นที่เทพเจ้า เทพธิดา วิญญาณบรรพบุรุษเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ มีการทำบุญกันทุกบ้านเรือน มีการขออภัยโทษแก่ดวงวิญญาณต่าง ๆ ให้เป็นอิสระ ลูกหลานจะต้องมีการทำพิธีบวงสรวง เผากระดาษเงิน กระดาษทองส่งไปให้วิญญาณบรรพบุรุษได้ใช้จ่าย วันที่ 15 วิญญาณบรรพบุรุษจะได้คุ้มครองดูแลลูกหลาน
คำว่า "กว๋า ตัง" ในภาษาเมี่ยนมีความหมายว่าแขวนตะเกียง ซึ่งเป็นการทำบุญเพื่อให้เกิดความสว่างขึ้น และเมี่ยนเองก็จะถือว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้แล้ว จะมีตะเกียง 3 ดวง พิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิเต๋า เป็นพิธีที่ทำเฉพาะผู้ชายเท่านั้น ถือเป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตนเอง ทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษ และเป็นผู้สืบสกุล ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่
พิธีกว๋าตัง หมายถึงพิธีแขวนตะเกียง 3 ดวง เป็นพิธีที่สำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นการสืบทอดตระกูล และเป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษด้วย ในการประกอบพิธีกว๋าตังนี้ จะต้องนำภาพเทพพระเจ้าทั้งหมดมาแขวน เพื่อเป็นสักขีพยานว่าบุคคลเหล่านี้ว่าได้ทำบุญแล้ว และจะได้ขึ้นสวรรค์เมื่อเสียชีวิตไป จุดสำคัญของพิธีนี้คือ การถ่ายทอดอำนาจบุญบารมีของอาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งในขณะทำพิธีนี้จะมีฐานะเป็นอาจารย์ (ไซเตี๋ย) ของผู้เข้าร่วมพิธีอีกฐานะหนึ่ง และผู้ผ่านพิธีนี้จะต้องเรียกผู้ที่ถ่ายทอดบุญบารมีนี้ว่า อาจารย์ตลอดไป ผู้เป็นอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเสมอไป แต่ต้องผ่านการทำพิธีกว๋าตัง หรือพิธีบวชขั้นสูงสุด"โต่ว ไซ" ก่อนเมื่อผ่านพิธีนี้แล้ว จะทำให้เขาเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ เขาจะได้รับชื่อใหม่ ชื่อนี้จะปรากฏรวมอยู่รวมกับทำเนียบวิญาณของบรรพบุรุษของเขา ซึ่งเป็นการสืบต่อตระกุลมิให้หมดไป เมื่อเขาเสียชีวิตเขาสามารถไปอยู่กับบรรพบุรุษที่ (ย่าง เจียว ต่ง) และอาจจะหลงไปอยู่ในที่ต่ำซึ่งเป็นที่ที่ไม่ดีหรือนรกก็ได้ พอเวลาลูกหลานทำบุญส่งไปให้ก็จะไม่ได้รับ เพราะไม่มีชื่อ นอกจากนี้ผู้ผ่านพิธี (กว๋า ตัง)ยังจะได้รับตำแหน่งศักดินาชั้นต่ำสุดของโลกวิญญาณ จะได้รับบริวารทหารองครักษ์ 36 องค์ และทำให้ภรรยามีเพิ่มเป็น 24 องค์ ดังนั้น ผู้ชายเมี่ยนทุกคนต้องทำพิธี (กว๋า ตัง) จะใช้เวลาในการทำพิธี 3 วันเป็นพิธีถวายตัวแก่เทพเจ้าเต๋า เพื่อวิญาณจะไปอยู่ร่วมกับบรรพชนและมีเทพ (ฮู่ง อิน) มาดูแลปกปักรักษาเมื่อสิ้นชีวิตลง และจะทำให้เขาเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว
สำหรับชายที่แต่งงานแล้วเวลาทำพิธีบวช ภรรยาจะเข้าร่วมพิธีด้วย โดยจะอยู่ด้านหลังของสามี และการทำพิธีสามารถทำได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ คนก็ได้ แต่คนที่ทำนั้นจะต้องเป็นญาติพี่น้องกัน หรือนับถือบรรพบุรุษเดียวกัน เมี่ยนเรียกว่า(จ่วง เมี้ยน) หลังจากผ่านพิธีนี้แล้ว ผู้ทำพิธีจะได้รับชื่อผู้ใหญ่ และชื่อที่ใช้เวลาทำพิธีด้วยเรียกว่า (ฝะ บั๋ว)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น